top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนJeff Urit

ศาสตร์พระราชา

อัปเดตเมื่อ 9 ก.ค. 2562


เศรษฐกิจพอเพียง

หลักเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ซึ่งมีความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน

รัฐบาลชุดปัจจุบันได้อัญเชิญ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ (20 ปี) รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ด้วย โดยมุ่งเน้นที่จะน้อมนำไปสู่การปฏิบัติสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมในทุกระดับ ด้วยการสร้างกลไกการขับเคลื่อน ผ่านการบูรณาการกับทุกภาคส่วน

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความเป็นสากล และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDG) ของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นวาระของประชาคมโลก ที่มี 17 ข้อ และสามารถจัดแบ่งออกเป็น 5P ได้แก่ People (คน) Planet (โลก) Prosperity (การเติบโตทางเศรษฐกิจ) Peace (ความสงบสุข) และ Partnership (ความร่วมมือ)

รัฐบาลไทยได้ประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยยึดถือ “หลักการทรงงาน” ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คือ “ทำตามขั้นตอน” ดังพระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517 กล่าวโดยสรุปคือ ให้เริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดของประชาชนก่อน เช่น การสาธารณสุข การดูแลตนเองขั้นต้น เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้ตนเองไม่เจ็บป่วย มีสุขภาพที่แข็งแรง เมื่อประชาชนมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงแล้ว ก็จะสามารถทำประโยชน์ด้านอื่น ๆ ต่อไปได้ จากนั้นจะเป็นเรื่องของสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค ที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชน โดยต้องไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการให้ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีที่เรียบง่าย เน้นการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถนำไปปฏิบัติได้และเกิดประโยชน์สูงสุด

จะเห็นได้ว่า ทั้งสองหลัก คือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ความสำคัญกับ “คน” หรือทรัพยากรมนุษย์ เป็นอันดับแรก

“เมื่อไม่พอก็ต้องเติม เมื่อพอก็ต้องรู้จักหยุด เมื่อเกินก็ต้องรู้จักแบ่งปัน...ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ก้าวออกไปอย่างยั่งยืนเคียงบ่าเคียงไหล่

ดู 3 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Commenti


bottom of page